วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

13.ชนิดของข้อมูลและตัวแปรในภาษาซี


ชนิดของข้อมูลและตัวแปรในภาษาซี




ชนิดของข้อมูล (data type) ในการเขียนโปรแกรมหนึ่งๆ จะมีข้อมูลต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องเช่น
การนับจำนวนรอบ (loop) ของการทำงานโดยใช้ข้อมูลชนิดจำนวนเต็ม หรือการแสดงข้อความ
โดยใช้ข้อมูลชนิดตัวอักษร จะเห็นว่าข้อมูลต่างๆ ถูกแบ่งออกเป็นหลายชนิดตามจุดประสงค์ของการใช้งาน
นอกจากนี้ข้อมูลแต่ละชนิด ยังใช้เนื้อที่หน่วยความจำ (memory) ไม่เท่ากันจึงมีการแบ่งชนิดของข้อมูล
ดังแสดงในตารางด้านล่าง



ตัวแปร (variable) เนื่องจากข้อมูลถูกเก็บอยู่ในหน่วยความจำ การอ้างถึงตำแหน่งของข้อมูลนี้
จึงมีความซับซ้อน ไม่สะดวกต่อการเขียนโปรแกรม จึงมีการเรียกหน่วยความจำ ในตำแหน่งที่สนใจผ่านตัวแปร



การประกาศตัวแปร (variable declaration) คือการจองเนื้อที่ในหน่วยความจำสำหรับเก็บค่าบางอย่าง
พร้อมทั้งกำหนดชื่อเรียกแทนหน่วยความจำในตำแหน่งนั้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมมีความสะดวกในการเข้าถึง
ค่าที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำดังกล่าว



รูปแบบการประกาศตัวแปร 


type variable-name;
โดย
type คือชนิดของตัวแปร (ตามตารางด้านล่าง)
variable-name คือชื่อของตัวแปร (ควรตั้งชื่อให้มีความหมายสอดคล้องกับการใช้งานและจำง่าย)


ตัวอย่างการประกาศตัวแปรแบบต่างๆ

int num; /*ประกาศตัวแปรชนิิดจำนวนเต็ม ชื่อ num*/
float x;
char grade, sex; /*ประกาศตัวแปรชนิิดอักขระ ชื่อ grade และ sex (ประกาศพร้อมกันในบรรทัดเดียว)*/
float temp = 123.45; /*ประกาศตัวแปรชนิดเลขทศนิยมพร้อมกำหนดค่า 123.45*/
char c = "A", t = "B"; /*ประกาศตัวแปรชนิดอักขระสองตัว พร้อมกำหนดค่าให้แต่ละตัว*/
int oct = 0555; /*ประกาศตัวแปรชนิดจำนวนเต็มชื่อ num พร้อมกำหนดค่าคือ 555 (เป็นเลขฐานแปดเพราะมี 0 นำหน้า)*/
int hex = 0x88; /*ประกาศตัวแปรชนิดจำนวนเต็มชื่อ hex พร้อมกำหนดค่าคือ 88 (เป็นเลขฐาน 16 เพราะมี 0x นำหน้า)*/

ข้อควรระวัง!!
  • ชื่อตัวแปรจะต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษรหรือเครื่องหมาย "_" เท่านั้น
  • ภายในชื่อตัวแปรให้ใช้ตัวอักษร, ตัวเลข 0-9 หรือเครื่องหมาย "_"
  • ห้ามมีช่องว่างในชื่อตัวแปร
  • อักษรตัวพิมพ์เล็ก-ใหญ่ มีความแตกต่างกัน (case sensitive) เช่น Name, NAME และ name
    ถือเป็นชื่อที่แตกต่างกัน
  • ห้ามซ้ำกับชื่อตัวแปรสงวน (reserved word)

ตัวแปรชนิดข้อความ (string)

ถ้าเราต้องการเก็บข้อความ "C programming language" ไว้ในตัวแปร จะทำได้อย่างไร?


ที่ผ่านมาเราทราบว่าเราสามารถเก็บข้อมูลชนิดตัวอักขระไว้ในตัวแปรชนิด char ได้ แต่ตัวแปรชนิด char นั้น
สามารถเก็บตัวอักขระได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น ไม่สามารถเก็บทั้งข้อความได้ แล้วเราจะแก้ปัญหาได้อย่างไร?



หากพิจาณาให้ดี ข้อความดังกล่าวประกอบด้วยตัวอักขระ (ตัวอักษร+สัญลักษณ์) หลายๆ ตัวเรียงต่อกันเป็นสาย
ซึ่งเป็นลักษณะของตัวแปรแบบ array (จะได้กล่าวภายหลัง)



การประกาศตัวแปรแบบ array เพื่อเก็บข้อมูลดังกล่าวสามารถทำได้ดังนี้
type variable-name[size];
โดย
size คือขนาดของข้อความ+1 โดยขนาดที่เพิ่มขึ้นเพราะต้องเก็บอักขระสุดท้ายของข้อความเป็นอักขระ
\0 หรือ NULL เพื่อบอกว่าสิ้นสุดข้อความแล้ว

ตัวอย่างการประกาศตัวแปรแบบ array เพื่อเก็บข้อความ "C programming language" (22 ตัวอักษร) 
ทำได้หลายวิธีดังนี้
char[23] text = "C programming language";

/*กำหนดขนาดเพิ่มขึ้น 1 ตัว สำหรับเก็บค่า \0 หรือ NULL ในตำแหน่งสุดท้าย*/



char[23] text = {'C',' ','p','r','o','g','r','a','m','m','i','n','g',' ','l','a','n','g','u','a','g','e','\0'};
/*กำหนดขนาดเพิ่มขึ้น 1 ตัว สำหรับเก็บค่า \0 หรือ NULL ในตำแหน่งสุดท้าย*/



char[] text = "C programming language";
/*ถ้าไม่กำหนดขนาดของ array แล้ว ตัวแปรภาษาซีจะกำหนดให้โดยมีขนาดเท่ากับขนาดข้อความ+1*/


นอกจากนี้เรายังสามารถแก้ไขตัวอักษรที่เก็บอยู่ใน array ได้โดยการอ้างอิงตำแหน่งเช่น
text[0] = 'A'; /*แก้ตัวอักษรตัวแรก (เริ่มนับจาก 0) จะได้ผลลัพธ์คือ A programming language*/
text[2] = ' '; /*ผลลัพธ์คือ A  rogramming language (ใส่ช่องว่างแทนตัว p)*/



ชนิดของตัวแปรในภาษาซี
ชนิดของตัวแปรขนาด (bits)ขอบเขตข้อมูลที่เก็บ
char
8
-128 ถึง 127
ข้อมูลชนิดอักขระ ใช้เนื้อที่ 1 byte
unsigned char
8
0 ถึง 255
ข้อมูลชนิดอักขระ ไม่คิดเครื่องหมาย
int
16
-32,768 ถึง 32,767
ข้อมูลชนิดจำนวนเต็ม ใช้เนื้อที่ 2 byte
unsigned int
16
0 ถึง 65,535
ข้อมูลชนิดจำนวนเต็ม ไม่คิดเครื่องหมาย
short
8
-128 ถึง 127
ข้อมูลชนิดจำนวนเต็มแบบสั้น ใช้เนื้อที่ 1 byte
unsigned short
8
0 ถึง 255
ข้อมูลชนิดจำนวนเต็มแบบสั้น ไม่คิดเครื่องหมาย
long
32
-2,147,483,648 ถึง 2,147,483,649
ข้อมูลชนิดจำนวนเต็มแบบยาว ใช้เนื้อที่ 4 byte
unsigned long
32
0 ถึง 4,294,967,296
ข้อมูลชนิดจำนวนเต็มแบบยาว ไม่คิดเครื่องหมาย
float
32
3.4*10e(-38) ถึง 3.4*10e(38)
ข้อมูลชนิดเลขทศนิยม ใช้เนื้อที่ 4 byte
double
64
3.4*10e(-308) ถึง 3.4*10e(308)
ข้อมูลชนิดเลขทศนิยม ใช้เนื้อที่ 8 byte
long double
128
3.4*10e(-4032) ถึง 1.1*10e(4032)
ข้อมูลชนิดเลขทศนิยม ใช้เนื้อที่ 16 byte

12.ฟังก์ชันในภาษาซี

ฟังก์ชันในภาษา C

ในการทำงานบางอย่างจำเป็นต้องใช้คำสั่งมากกว่า 1 คำสั่งเพื่อทำงานนั้นให้สำเร็จ ซึ่งคำสั่งที่เขียนรวมกันไว้ใช้งานจะเรียกว่าฟังก์ชัน (Function)
ฟังก์ชัน (Function) คือ การเขียนคำสั่งรวมกันไว้เป็นกลุ่มของคำสั่งเพื่อทำงานให้สำเร็จ โดยกลุ่มของคำสั่งที่เราเขียนจะอยู่ภายในเครื่องหมาย { } เพื่อบอกขอบเขต และมีการตั้งชื่อให้กับกลุ่มคำสั่งนั้น เพื่อความสะดวกในการเรียกใช้งาน
ข้อดีของการสร้างฟังก์ชันขึ้นมาใช้งาน คือ ถ้าเราต้องการทำงานที่ซ้ำซ้อน หรือทำงานใดซ้ำกันหลายครั้ง เช่น หากต้องการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมทั้งหมด 10 รูป เราต้องเขียนคำสั่งหาพื้นที่ทั้งหมด 10 ครั้ง ดังนั้นหากเราสร้างฟังก์ชันหาพื้นที่รูปสามเหลี่ยมก็จะสามารถเรียกใช้ฟังก์ชันดังกล่าวเมื่อใดก็ได้
ฟังก์ชันมาตรฐานหรือไลบราลีฟังก์ชัน
lเป็นฟังก์ชันที่มีมาให้พร้อมกับตัวแปลภาษา C เพื่อใช้งานได้ทันที และใช้ในงานด้านต่างๆ โดยเน้นงานพื้นฐาน เช่น ฟังก์ชันคำนวณทางคณิตศาสตร์ ฟังก์ชันสำหรับจัดการข้อความ ฟังก์ชันเวลา เป็นต้น เพื่อให้ผู้เขียนภาษา C มีความสะดวกมากขึ้น
lไลบราลีฟังก์ชันภาษา C จะเก็บอยู่ในไฟล์นามสกุล .h หรือที่เรียกว่า header file ยกตัวอย่างเช่น ฟังก์ชันเกี่ยวกับการคำนวณจะเก็บอยู่ในไฟล์ชื่อ math.h หรือฟังก์ชันเกี่ยวกับการจัดการข้อความอยู่ในไฟล์ชื่อ string.h เป็นต้น
1. ฟังก์ชันมาตรฐานหรือไลบราลีฟังก์ชัน
lในการเรียกใช้งานฟังก์ชันต้องเขียนรูปแบบการใช้คำสั่ง คือ
#include<header file>
และเขียนไว้ในส่วนหัวของโปรแกรม เพื่อให้ตัวแปลภาษา C เข้าใจว่าภายในโปรแกรมของเรามีการเรียกใช้ไลบราลีฟังก์ชัน

ฟังก์ชันสตริง
lสตริง (string) หรืออะเรย์ตัวอักษร  คือ  ข้อมูลที่ประกอบไปด้วยตัวอักษรที่มีการเรียงต่อเนื่องกันไป  โดยมีจุดสิ้นสุดของข้อมูลสตริงที่ตัวอักษร NULL  character เขียนด้วย ‘’
lในภาษาซีรูปแบบข้อมูลประเภทสตริงไม่มีการกำหนดไว้  การประกาศตัวแปรแบบสตริงทำได้ 2 วิธี  คือ ในรูปของอะเรย์  กับในรูปของพอยน์เตอร์
lตัวอย่างการประกาศตัวแปรสตริง
char  p[9]  =  “ I  think !” ;
ฟังก์ชันมาตรฐานที่เกี่ยวกับสตริงที่ภาษาซีเตรียมไว้ให้เรียกใช้  ดังนี้
l gets( )  เป็นฟังก์ชันใช้รับค่าสตริง
l puts( )  เป็นฟังก์ชันที่ใช้แสดงผลสตริง
l strcat( )  เป็นฟังก์ชันที่ใช้ต่อสตริง 2 ตัวเข้าด้วยกัน
l strcmp( )  เป็นฟังก์ชันที่ใช้เปรียบเทียบสตริง 2 ตัว
l strcpy( )  เป็นฟังก์ชันที่ใช้ก๊อปปี้สตริง
l strlen( )  เป็นฟังก์ชันที่ใช้เพื่อหาความยาวของสตริง

11.ผังงานflowchart





ผังงานระบบ(System Flowchat)

เป็นผังงานที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานภายในระบบหนึ่ง ๆ โดยจะแสดงถึงความเกี่ยวข้องของส่วนที่สำคัญต่าง ๆ ในระบบนั้น เช่น เอกสารเบื้องต้น หรือสื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้อยู่เป็นอะไร และผ่านไปยังหน่วยงานใด มีกิจกรรมอะไรในหน่วยงานนั้น แล้วจะส่งต่อไปหน่วยงานใด เป็นต้น ดังนั้นผังงานระบบอาจเกี่ยวข้องกับคน วัสดุ และเครื่องจักร ซึ่งแต่ละจุดจะประกอบไปด้วย การนำข้อมูลเข้า วิธีการประมวลผลและการแสดงผลลัพธ์ (Input – Process – Output) ว่ามาจากที่ใดอย่างกว้าง ๆ จึงสามารถเขียนโปรแกรมจากผังงานระบบได้
    ผังงานโปรแกรม(Program Flowchat) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ผังงาน
ผังงานประเภทนี้แสดงถึงขั้นตอนของคำสั่งที่ใช้ในโปรแกรม ผังงานนี้อาจสร้างจากผังงานระบบโดยผู้เขียนผังงานจะดึงเอาแต่ละจุดที่เกี่ยวข้องการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏในผังงานระบบมาเขียน เพื่อให้ทราบว่าถ้าจะใช้คอมพิวเตอร์ทำงานในจุดนั้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ตามต้องการ ควรที่จะมีขั้นตอนคำสั่งอย่างไร และจะได้นำมาเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทำงานต่อไป

10.ซอฟแวร์ที่ใช้ในการออกแบบ (3มิติ)

ซอฟแวร์ที่ใช้ในการออกแบบ (3มิติ)


      Google SketchUp (โปรแกรมออกแบบบ้าน 3 มิติ สร้างโมเดล 3 มิติ) : โปรแกรม SketchUp เป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย Google ชื่อเสียงเรียงนามของผู้พัฒนา ก็คงไม่ต้องบรรยายแล้วว่าดีหรือไม่ดี ที่คราวนี้เข็นเจ้า โปรแกรมออกแบบบ้านหรือเอาไว้ สร้างโมเดล 3 มิติ ออกมาภายใต้ชื่อ Google SketchUp ออกมาให้คนอยากออกแบบ อยากเล่น อยากลอง อยากฝึกใช้ได้ทดลองใช้ หรือจะให้เด็กๆ ลองใช้ โปรแกรมออกแบบบ้าน ฝึกจินตนาการ ของเด็ก และเยาวชน โปรแกรมออกแบบบ้าน ชั่วหัวว่าใช้ออกแบบบ้าน แต่จริงๆ ไม่ได้เป็นแค่ โปรแกรมออกแบบบ้าน อย่างเดียวแต่ โปรแกรม Google SketchUp ยังสามารถ ออกแบบงานด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรม หรือ เครื่องจักร เครื่องกล กันได้อย่างง่ายๆ แถมเผลอๆ หาก ออกแบบ กันดีๆ ยังเอาไปใช้งานจิงๆ ได้อีกด้วย รวมถึง โปรแกรม SketchUp นี้ยังสามารถนำไป ออกแบบ วัตถุเล็กๆ น้อยๆ อาทเช่น ทั้ง ออกแบบระเบียงบ้าน ออกแบบหน้าต่าง ออกแบบประตู ออกแบบตู้ ออกแบบโต๊ะ ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ งานไม้ งานต่อเติมบ้าน ออกแบบรถ (เหมือนภาพประกอบด้านบน) หรือแม้แต่ ออกแบบยานอวกาศ ในฝัน ยังออกแบบได้

9.ซอฟแวร์ที่ใช้ในการออกแบบ(2มิติ)

ซอฟแวร์ที่ใช้ในการออกแบบ(2มิติ)

โปรแกรมวาดแบบ 2 มิติ LibreCAD
LibreCAD (โปรแกรมออกแบบ โปรแกรมวาดแบบ 2 มิติ) : โปรแกรมออกแบบ LibreCAD เป็น โปรแกรมออกแบบ 2 มิติ หรือที่เรียกว่า CAD 2D (Computer-Aided Design Program) ที่อยู่ในโปรเจคโอเพ่นซอร์ส (Open-Source) หากได้ยินชื่อนี้เมื่อไหร่ พึงระลึกเอาไว้เลยว่า แจกฟรี แน่นอน เพราะเป็นการพัฒนาที่เกิดขึ้นจากนักพัฒนาโปรแกรมฝีมือดีจากทั่วโลก ที่มีความเชี่ยวชาญด้าน โปรแกรมออกแบบ ตรงนี้ได้เป็นพื้นที่ ที่จะมาร่วมออกแบบแลัพัฒนาร่วมกัน โดย โปรแกรมออกแบบ ตัวนี้สามารถออกแบบวัตถุต่างๆ ได้ 2 มิติ (2D) เท่านั้น ซึ่งสามารถใช้ออกแบบวัตถุ สื่งของ หรืออะไรก็ได้ที่ง่ายๆ อาทิเช่น กลไกของเครื่องจักรกล วิศวกรออกแบบสิ่งก่อสร้างต่างๆ เช่น เป็น โปรแกรมออกแบบบ้าน ได้ดี หรือจะไปใช้ ออกแบบครัวเรือน ออกแบบตึก ออกแบบอาคาร ออกแบบห้อง เพื่อใช้สอยในกิจการ หรือ สถานการณ์ ต่างๆ รวมไปถึงการ ออกแบบถุงพลาสติก ออกแบบเสื้อผ้า ด้านหน้าด้านหลัง ได้เป็นอย่างดี

8.เทคโนโลยีสะอาด

เทคโนโลยีสะอาดคืออะไร

เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology : CT) หมายถึง การพัฒนา ปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การใช้วัตถุดิบ พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดผลกระทบ ความเสี่ยงต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยการลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด และมีของเสียเกิดขึ้นน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย ด้วยการเปลี่ยนวัตถุดิบ การใช้ซ้ำและการนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและลดต้นทุนการผลิตควบคู่กันไป


หลักการของเทคโนโลยีสะอาด

เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดเป็นหลักการป้องกันมลพิษ (Pollution Prevention) ที่ใช้หลักการลดของเสียเหลือน้อยที่สุด (Waste Minimization) โดยวิธีการแยกสารมลพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือการเปลี่ยนวัตถุดิบที่ทำให้เกิดผลพลอยได้ที่ไม่เป็นอันตราย รวมทั้งการลดปริมาณและความเข้มข้นขององค์ประกอบในของเสียด้วยการนำไปใช้ซ้ำ (Reuse) หรือการนำกลับไปใช้ใหม่ (Recycle) จนไม่สามารถนำของเสียไปใช้ประโยชน์ได้แล้ว ก็จะนำไปบำบัดให้ถูกต้องตามหลักวิชาการต่อไป โดยมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง นอกจากนี้ในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้นั้นยังต้องประกอบด้วยทัศนคติที่ดีและการร่วมมือกันอย่างเต็มที่จากบุคคลากรทุกฝ่ายอีกด้วย



หลักการเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดในการป้องกันมลพิษ

7.5W1H

5W1H                             
5W1H: วิธีที่มีประสิทธิภาพเพื่อรวบรวมและนำเสนอข้อมูลที่สำคัญ







5W1 หนึ่งในเครื่องมือที่ใช้มากที่สุดในระดับสากลสำหรับการรวบรวมข้อมูล,วิเคราะห์และการนำเสนอเป็นกรอบ 5W1H
วิธีนี้จะใช้ในช่วงของกระบวนการนักวิเคราะห์วิศวกรที่มีคุณภาพที่จะเข้าใจและอธิบายความจริงปัญหาใด ๆ หรือปัญหาวิธีการเดียวกันสามารถที่ใช้ในการจัดระเบียบการเขียนของรายงานบทความเอกสารและแม้ทั้งหนังสือ
วิธีการพื้นฐาน

วิธีการนี้พยายามที่จะตอบคำถามพื้นฐานในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใด ๆ ของ: ใครอะไรเมื่อไหร่ที่ไหนทำไมและวิธีการ บางครั้งขึ้นอยู่กับบริบทที่สอง"H"อย่างไร

What.
คือเรื่องหลักของการรวบรวมข้อมูลเหตุผลและการนำเสนอ อาจจะเป็นที่ระบุไว้ในชื่อเรื่องและวัตถุประสงค์ อาจต้องจะกำหนดกระบวนการที่อาจประกอบด้วยส่วนที่เหลือของเอกสาร

Who.
สิ่งแวดล้อมอื่นๆ คนหรือกลุ่มความกังวลมันอาจอธิบายเอกสารหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายการหรือขั้นตอน

When.
หมายถึงเมื่อไหร่ในเวลาใดที่เกี่ยวข้อง มันอาจจะเป็นส่วนหนึ่งกับจุดที่เหมาะสมที่จะต้องดำเนินการ บางครั้งมันอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของสถานการณ์ของการกระทำตามเงื่อนไข
Where.
เหตุการณ์หรือกระบวนการนั้น เกิดขึ้นที่ไหนเมื่อไหร่ 
Why.
เหตุใดถึงทำสิ่งนั้นหรือ เพราะเหตุใดถึงเกิดเหตุการณ์นั้นๆ อาจมีการพิจารณาที่ไม่เกี่ยวข้องอาจจะเกิดจากนโยบายหรือขั้นตอน
How.
เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นเป็นอย่างไรบ้าง เมื่ออธิบายนโยบายกระบวนการหรือขั้นตอนอาจ
เป็นส่วนสำคัญที่สุด
Conclusion.
5W1H สามารถนำไปใช้หัวข้อใด ๆ เพื่อรวบรวมวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลจากข้อมูลที่ซับซ้อนทำให้เป็นข้อมูลง่าย

6.ตัวอย่างการออกแบบ

ตัวอย่างการออกแบบทางสถาปัตย์





ตัวอย่างการออกแบบผลิตภัณฑ์                                                                       การออกแบบมีหลักการพื้นฐานโดยอาศัยส่วนประกอบขององค์ประกอบศิลป์ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทเรียนเรื่อง “ องค์ประกอบศิลป์ ” คือ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก สี และพื้นผิว นำมาจัดวางเพื่อให้เกิดความสวยงามโดยมีหลักการ 







ตัวอย่างการออกแบบทางวิศวกรรม



ตัวอย่างการออกแบบตกแต่ง




ตัวอย่างการออกแบบสิ่งพิมพ์









5.การออกแบบ

การออกแบบ (Design)
        การออกแบบ หมายถึงอะไรนั้น ขอยกตัวอย่างคนที่เคยคิดและเขียนบอกเอาไว้แล้วเช่น โกฟ (Gove, 1965::165) เค้าบอกไว้ว่า การออกแบบเป็นการจัดแต่งองค์ประกอบมูลฐานในการสร้างงานศิลปกรรม เครื่องจักร หรือประดิษฐกรรมของมนุษย์ 

        การออกแบบจะทำให้ เราสามารถถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงาน ที่ผู้อื่น สามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้ เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน

ความสำคัญของการออกแบบ เช่น

        - ในแง่ของการวางแผนการการทำงาน งานออกแบบจะช่วยให้การทำงานเป็นไปตาม ขั้นตอน อย่างเหมาะสม และประหยัดเวลา ดังนั้นอาจถือว่าการออกแบบ คือ การวาง แผนการทำงานก็ได้ 
        - ในแง่ของการนำเสนอผลงาน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจ ตรงกันอย่างชัดเจน ดังนั้น ความสำคัญในด้านนี้ คือ เป็นสื่อความหมายเพื่อความเข้าใจ ระหว่างกัน 
        - เป็นสิ่งที่อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับงาน งานบางประเภทอาจมีรายละเอียดมากมาย ซับซ้อน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง และผู้พบเห็นมีความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น หรืออาจกล่าวได้ว่า ผลงานออกแบบ คือ ตัวแทนความคิดของผูออกแบบได้ทั้งหมด 
        - แบบ จะมีความสำคัญอย่างที่สุด ในกรณีที่ นักออกแบบกับผู้สร้างงานหรือผู้ผลิต เป็นคนละคนกัน เช่น สถาปนิกกับช่างก่อสร้าง นักออกแบบกับผู้ผลิตในโรงงาน หรือถ้าจะเปรียบไปแล้ว นักออกแบบก็เหมือนกับคนเขียนบทละครนั่นเอง

แบบ เป็นผลงานจากการออกแบบ เป็นสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์และฝีมือของ นักออกแบบ แบบมีอยู่หลายลักษณะ ดังนี้ คือ 

        1. เป็นภาพวาดลายเส้น (drawing) ภาพระบายสี (Painting) ภาพถ่าย (Pictures) หรือแบบร่าง (Sketch) แบบที่มีรายละเอียด (Draft) เช่น แบบก่อสร้าง ภาพพิมพ์ (Printing) ฯลฯ ภาพต่าง ๆ ใช้แสดงรูปลักษณะของงาน หรือแสดงรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับงาน ที่เป็น 2 มิติ 
        2. เป็นแบบจำลอง (Model) หรือของจริง เป็นแบบอีกประเภทหนึ่งที่ใช้แสดง รายละเอียดของงานได้ชัดเจนกว่าภาพต่าง ๆ เนื่องจากมีลักษณะเป็น 3 มิติ ทำให้ สามารถเข้าใจในผลงานได้ดีกว่า นอกจากนี้ แบบจำลองบางประเภทยังใช้งานได้ เหมือนของจริงอีกด้วยจึงสมารถใช้ในการทดลอง และทดสอบการทำงาน เพื่อหา ข้อบกพร่องได้

ประเภทของการออกแบบ 

        1. การออกแบบทางสถาปัตยกรรม (Architecture Design) 
เป็นการออกแบบเพื่อ การก่อสร้าง สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ นักออกแบบสาขานี้ เรียกว่า สถาปนิก (Architect) ซึ่ง โดยทั่วไปจะต้องทำงานร่วมกับ วิศวกรและมัณฑนากร โดยสถาปนิก รับผิดชอบเกี่ยว กับประโยชน์ใช้สอยและความงามของสิ่งก่อสร้าง งานทางสถาปัยตกรรมได้แก่ 
                สถาปัตยกรรมทั่วไป เป็นการออกแบบสิ่งก่อสร้างทั่วไป เช่น อาคาร บ้านเรือน ร้านค้า โบสถ์ วิหาร ฯลฯ
                สถาปัตยกรรมโครงสร้าง เป็นการออกแบบเฉพาะโครงสร้างหลักของอาคาร 
                สถาปัตยกรรมภายใน เป็นการออกแบบที่ต่อเนื่องจากงานโครงสร้าง ที่เป็นส่วนประกอบของอาคาร 
                งานออกแบบภูมิทัศน์ เป็นการออกแบบที่มีบริเวณกว้างขวาง เป็นการจัดบริเวณพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงาม
                งานออกแบบผังเมือง เป็นการออกแบบที่มีขนาดใหญ่ และมีองค์ประกอบซับซ้อน ซึ่งประกอบ ไปด้วยกลุ่มอาคารจำนวนมาก ระบบภูมิทัศน์ ระบบสาธารณูปโภค ฯลฯ

        2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) 

เป็นการออกแบบเพื่อการผลิต ผลิตภัณฑ์ ชนิดต่าง ๆงานออกแบบสาขานี้ มีขอบเขตกว้างขวางมากที่สุด และแบ่งออกได้มากมาย หลาย ๆ ลักษณะ นักออกแบบรับผิดชอบเกี่ยวกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงามของ ผลิตภัณฑ์ งานออกแบบประเภทนี้ได้แก่ 
                - งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์
                - งานออกแบบครุภัณฑ์ 
                - งานออกแบบเครื่องสุขภัณฑ์ 
                - งานออกแบบเครื่องใช้สอยต่างๆ
                - งานออกแบบเครื่องประดับ อัญมณี
                - งานออกแบบเครื่องแต่งกาย
                - งานออกแบบภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์
                - งานออกแบบผลิตเครื่องมือต่าง ๆ ฯลฯ

        3. การออกแบบทางวิศวกรรม (Engineering Design)

เป็นการออกแบบเพื่อการผลิต ผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ เช่นเดียวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกัน ต้องใช้ ความรู้ความสามารถและเทคโนโลยีในการผลิตสูง ผู้ออกแบบคือ วิศวกร ซึ่งจะรับผิดชอบ ในเรื่องของประโยชน์ใช้สอย ความปลอดภัยและ กรรมวิธีในการผลิต บางอย่างต้องทำงาน ร่วมกันกับนักออกแบบสาขาต่าง ๆ ด้วย งานอกแบบประเภทนี้ได้แก่ 
                - งานออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้า
                - งานออกแบบเครื่องยนต์ 
                - งานออกแบบเครื่องจักรกล 
                - งานออกแบบเครื่องมือสื่อสาร 
                - งานออกแบบอุปกณ์อิเลคทรอนิคส์ต่าง ๆ ฯลฯ

        4. การออกแบบตกแต่ง (Decorative Design)

เป็นการออกแบบเพื่อการตกแต่งสิ่งต่าง ๆ ให้สวยงามและเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น นักออกแบบเรียนว่า มัณฑนากร (Decorator) ซึ่งมักทำงานร่วมกับสถาปนิก งานออกแบบประเภทนี้ได้แก่ 
                - งานตกแต่งภายใน (Interior Design) 
                - งานตกแต่งภายนอก (Exterior Design)
                - งานจัดสวนและบริเวณ ( Landscape Design) 
                - งานตกแต่งมุมแสดงสินค้า (Display) 
                - การจัดนิทรรศการ (Exhibition)
                - การจัดบอร์ด 
                - การตกแต่งบนผิวหน้าของสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น ฯลฯ

        5. การออกแบบสิ่งพิมพ์ (Graphic Design)

เป็นการออกแบบเพื่อทางผลิตงานสิ่งพิมพ์ ชนิดต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือ หนังสือพิมพ์ โปสเตอร์ นามบัตร บัตรต่าง ๆ งานพิมพ์ลวดลายผ้า งานพิมพ์ภาพลงบนสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ งานออกแบบรูปสัญลักษณ์ เครื่องหมายการค้า ฯลฯ

4.กระบวนการเทคโนโลยี

กระบวนการเทคโนโลยีคืออะไร
ในชีวิตประจำวันของมนุษย์มีกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นมากมายตามเงื่อนไขและปัจจัยในการดำรงชีวิตของแต่ละคน ทำให้บางครั้งมนุษย์ต้องพบเจอกับปัญหาหรือความต้องการที่จะทำให้การดำรงชีวิตดีขึ้น เราเรียกว่า “สถานการณ์เทคโนโลยี"
การพิจารณาว่าสถานการณ์ใดเป็นสถานการณ์เทคโนโลยี จะพิจารณาจาก 3 ประเด็นคือ เป็นปัญหาหรือความต้องการของมนุษย์ เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม หรือเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์
การแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่พบในสถานการณ์เทคโนโลยี จะต้องใช้ทรัพยากร ความรู้และทักษะต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงจำเป็นต้องมีวิธีการหรือกระบวนการทำงานในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการอย่างเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน ซึ่งเรียกกระบวนการนั้นว่า กระบวนการเทคโนโลยี

กระบวนการเทคโนโลยีมีกี่ขั้นตอน

กระบวนการเทคโนโลยี เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อสร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการของมนุษย์ กระบวนการเทคโนโลยี ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. กำหนดปัญหาหรือความต้องการ (Identify the problem)

2. รวบรวมข้อมูล (Information gathering)

3. เลือกวิธีการ (Selection)

4. ออกแบบและปฏิบัติการ (Design and making)

5. ทดสอบ (Testing)

6. ปรับปรุงแก้ไข (Modification and improvement)
7. ประเมินผล (Assessment)

ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหาหรือความต้องการ
ขั้นตอนแรกของกระบวนการเทคโนโลยี คือ การกำหนดปัญหาหรือความต้องการ ซึ่งเป็นการทำความเข้าใจหรือวิเคราะห์ปัญหาหรือความต้องการหรือสถานการณ์เทคโนโลยีอย่างละเอียด เพื่อกำหนดกรอบของปัญหาหรือความต้องการให้ชัดเจนมากขึ้น

ขั้นที่ รวบรวมข้อมูล
การรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นกำหนดปัญหาหรือความต้องการจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น ศึกษาจากตำรา วารสาร บทความ สารานุกรม สืบค้นจากอินเทอร์เน็ต ระดมสมองจากสมาชิกในกลุ่ม โดยควรมีการรวบรวมข้อมูลรอบด้านให้ครอบคลุมปัญหาหรือความต้องการ ซึ่งจะทำให้เราสามารถสรุปวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ครบถ้วนสมบูรณ์ขึ้น

ขั้นที่ เลือกวิธีการ
การเลือกวิธีการ เป็นการพิจารณาและเลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับปัญหาหรือความต้องการมากที่สุด โดยใช้กระบวนการตัดสินใจเลือกจากวิธีการที่สรุปได้ในขั้นรวบรวมข้อมูล ประเด็นที่ควรนำมาพิจารณาคือ ข้อดี ข้อเสีย ความสอดคล้องกับทรัพยากรที่มีอยู่ ความประหยัด และการนำไปใช้ได้จริงของแต่ละวิธี เช่น ทำให้ดีขึ้น สะดวกสบายหรือรวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ควรพิจารณาคัดเลือกวิธีการโดยใช้กรอบของปัญหาหรือความต้องการมาเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือก

ขั้นที่ ออกแบบและปฏิบัติการ
การออกแบบและปฏิบัติการเป็นการถ่ายทอดความคิดหรือลำดับความคิดหรือจินตนาการให้เป็นขั้นตอน เกี่ยวกับวิธีการ แก้ปัญหาหรือสนองความต้องการโดยละเอียด โดยใช้การร่างภาพ มิติ การร่างภาพ 3 มิติ การร่างภาพฉาย แบบจำลอง หรือแบบจำลองความคิด และวางแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน จากนั้นลงมือสร้างตามแนวทางที่ได้ถ่ายทอดความคิดและวางแผนการปฏิบัติงานไว้ ผลงานที่ได้อาจเป็นชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการ

ขั้นที่ ทดสอบ
การทดสอบเป็นการตรวจสอบชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการที่สร้างขึ้นว่ามีความสอดคล้อง ตามแบบที่ได้ถ่ายทอดความคิดไว้หรือไม่ สามารถทำงานหรือใช้งานได้หรือไม่ มีข้อบกพร่องอย่างไร หากผลการทดสอบพบว่า ชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการไม่สอดคล้องตามแบบที่ถ่ายทอดความคิดไว้ ทำงานหรือใช้งานไม่ได้ หรือมีข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไข จะต้องมีการบันทึกสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไว้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นข้อมูลที่นำไปสู่การปฏิบัติงานในขั้นปรับปรุงแก้ไขต่อไป

ขั้นที่ ปรับปรุงแก้ไข
การปรับปรุงแก้ไข เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากขั้นทดสอบว่าควรปรับปรุงแก้ไขชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการในส่วนใด ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร แล้วจึงดำเนินการปรับปรุงแก้ไขในส่วนนั้น จนกระทั่งชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการสอดคล้องตามแบบที่ถ่ายทอดความคิดไว้ ทำงานหรือใช้งานได้ ในขั้นตอนนี้อาจจำเป็นต้องกลับไปที่ขั้นตอนออกแบบและปฏิบัติการอีกครั้งเพื่อถ่ายทอดความคิดใหม่หรืออาจกลับไปขั้นตอนรวบรวมข้อมูลและเลือกวิธีการที่เหมาะสมอีกครั้งก็ได้ เพื่อให้ได้สิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการที่เหมาะสมมากขึ้น

ขั้นที่ ประเมินผล
การประเมินผล เป็นการนำชิ้นงานหรือวิธีการที่ได้สร้างขึ้นไปดำเนินการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นกำหนดปัญหาหรือความต้องการ และประเมินผลที่เกิดขึ้นว่าชิ้นงานหรือวิธีการนั้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ หากผลการประเมินพบว่า ชิ้นงานหรือวิธีการไม่สามารถแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ ควรพิจารณาว่าจำเป็นต้องแก้ไขในขั้นตอนใด เพื่อนำไปปรับปรุงตามกระบวนการเทคโนโลยีอีกครั้ง เพื่อทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น









3.ความสัมพันธ์เทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ

ความสัมพันธ์เทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ
            เทคโนโลยีเป็นความรู้สาขาหนึ่งของมนุษย์ว่าด้วยการประยุกต์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ทั้งความรู้ 
วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ พลังงาน ทักษะต่าง ๆ ในการคิดแก้ปัญหา ออกแบบและสร้างสิ่งใหม่ ๆ 
เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ ดังนั้น กระบวนการเทคโนโลยีจึงต้องอาศัยความรู้จากสาขาวิชาอื่น
 ๆ มาสนับสนุน เช่น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ช่วยอธิบายหลักทางวิทยาศาสตร์ของสิ่งต่าง ๆ 
ความรู้ทางศิลปะช่วยวาดภาพหรือเขียนโครงร่างของสิ่งที่คิดประดิษฐ์ให้เห็นเป็นรูปธรรม 
หรือความรู้สาขามนุษย์ช่วยให้เข้าใจความต้องการวัฒนธรรมของสังคมมนุษย์ สิ่งเหล่านี้ช่วยสนับสนุน
การทำงานทางเทคโนโลยี
            ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับมนุษย์ศาสตร์
            การทำงานตามกระบวนการทางเทคโนโลยีเริ่มจากวิเคราะห์ความต้องการของตน สื่อสารความ
ต้องการให้ผู้อื่นเข้าใจ และเสนอแนวทางแก้ปัญหา ซึ่งต้องอาศัยทักษะการพูด อ่านและเขียน 
ลักษณะพฤติกรรมการเรียนรู้เทคโนโลยีต้องอาศัยทักษะทางภาษาซึ่งเป็นศาสตร์ของมนุษย์ศาสตร์
 ดังนี้
                1. ทักษะการฟัง พูดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางเทคโนโลยี
กับคนอื่น ๆ ในการทำกิจกรรม
                2. ทักษะการเขียน นำเสนอข้อมูลเชิงสัญลักษณ์ หรืออธิบายแนวคิดของตน
                3. ทักษะการสรุป กิจกรรมเทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับการร่างโครงการและการอธิบาย
กระบวนการ ทำงานจนได้ชิ้นงาน การเขียนข้อสรุปจึงเป็นสิ่งสำคัญของเทคโนโลยี
            ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับสังคมศาสตร์
            ผู้เรียนต้องเข้าใจประวัติความเป็นมาทั้งอดีตจนถึงปัจจุบันและเทคโนโลยีในอนาคตช่วย
สร้างสรรค์มนุษยชาติ จึงต้องให้ผู้เรียนตระหนักถึงหน้าที่ และความรับผิดชอบในฐานะสมาชิกที่ดี
ของสังคม โดยกิจกรรมดังนี้
                - สำรวจบทบาทเทคโนโลยีต่อสังคม
                - การจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้สนองความต้องการได้อย่างฉลาด
                - เข้าใจข้อจำกัดของปัจจัยต่าง ๆ ทางสังคม ค่านิยม โครงสร้างสังคม โดยนำสิ่งเหล่านี้
มาประกอบการตัดสินใจในกิจกรรมทางเทคโนโลยี
                - วิจัย ศึกษา วิเคราะห์การใช้เทคโนโลยีในสังคม ส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างไรบ้าง
                - การตระหนักถึงการใช้ทรัพยากร สิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
                - วิจัยศึกษา วิเคราะห์ผลกระทบการใช้เทคโนโลยีต่อสังคม




2.ความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยี

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ สรุปได้ ดังนี้

  1. สารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อความสำเร็จของกิจกรรมหลายประเภทจำเป็นต้องมีวิธีการจัดการที่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับการจัดการทรัพยากรอื่น ๆ
  1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อความสำเร็จของการดำเนินงานขององค์กรเป็นอย่างมาก จึงต้องมีวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการจัดทำระบบสารสนเทศและการใช้เทคโนโลยีเกี่ยวข้อง
  1. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน
  2. ผู้บริหารควรมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจะได้มีส่วนร่วมและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้ได้ประโยชน์
  1. ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้มีทางเลือกหลายทาง จำเป็นต้องมีการศึกษานโยบาย วัตถุประสงค์และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานและองค์การเพื่อช่วยในการตัดสินใจ
  1. เทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันถือเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งขององค์กร ซึ่งมีผลกระทบต่อการจัดองค์กร


1.ความหมายของเทคโนโลยี


ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

    ปัจจุบันคำว่า  “  เทคโนโลยีสาระสนเทศ  ”  หรือเรียกสั้นๆว่า    ไอที   ( IT )  นั้น  มักนำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง
  เกือบทุกวงการล้วนเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศกันแทบทั้งสิ้น  หรืออาจเรียกว่า โลกแห่งยุคไอทีนั้นเอง  
ในความเป็นจริง  คำว่าเทคโนโลยีสาระสนเทศนั้น  ประกอบด้วยคำว่า เทคโนโลยี  และคำว่า  สารสนเทศ 
 มารวมกันโดยแต่ละคำมีความหมายดังนี้

                    เทคโนโลยี   ( Technology )  คือการประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ 
 ที่เกี่ยวข้องการผลิต  การสร้างวิธีการดำเนินงาน  และรวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ  ที่ไม่ได้มีในตามธรรมชาติโลกแห่งเทคโนโลยียุคนี้ 
 ทำให้มนุษย์ได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกจากเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตประจำวันมากมายนับไม่ถ้วน
                 สารสรเทศ  ( Information )  คือผลลัพธ์ที่เกิดจากการประมวลผลข้อมูลดิบ  (Rau data ) 
 ด้วยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ  และนำมาผ่านกระบวนการประเมินผล  ไม่ว่าจะเป็นการจัดกลุ่มข้อมูล  การเรียงลำดับข้อมูล 
 การคำนวณและสรุปผล  จากนั้นก็นำมาเสนอในรูปแบบของรายงานที่เหมาะสมต่อการใช้งานที่ก่อเกิดประโยชน์การดำเนินชีวิต
ของมนุษย์  ไม่ว่าจะเป็นด้านของชีวิตประจำวัน  ข่าวสาร ความรู้ด้านวิชาการ  ธุรกิจ
                  เมื่อนำคำว่า  เทคโนโลยี  และ  สารสนเทศ  รวมเข้าไว้ด้วยกันแล้ว  จึงสรุปความหมายโดยรวมได้ว่า  เทคโนโลยีสารสนเทศ 
 ( Information  technology )  คือการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิทยาสาสตร์มาจัดการสารสนเทศที่ต้องการ  
โดยอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีใหม่ๆ  เช่น  เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์  เทคโนโลยีด้านเครือข่ายโทรคมนาคมและการสื่อสาร  
ตลอดจนอาศัยความรู้ในกระบวนการดำเนินงานสารสนเทศในขั้นตอนต่างๆ  ตั้งแต่การแสวงหา  การวิเคราะห์  การจัดเก็บ  
รวมถึงการจัดการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนสารสนเทศด้วย  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความถูกต้องแม่นยำ  
และความรวดเร็วทันต่อการนำมาใช้ประโยชน์ได้นั่นเอง